เจาะลึกทัพช้างศึก ทำไมถึงยังไปได้ไม่ไกล บอลโลกเป็นแค่ฝันหรือทำได้จริง?

ฟุตบอลทีมชาติไทย [1] เป็นหนึ่งในกีฬาที่เป็นหน้าเป็นตา และสร้างชื่อเสียงในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยประสบความสำเร็จในรายการใหญ่อย่างซีเกม 7 สมัย และฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียนอีก 9 สมัย ส่วนสถิติหรืออันดับโลกจากองค์กรฟีฟ่ายังถือว่าอยู่ไกล เพราะอันดับที่ดีที่สุดที่ทำได้คือ 43 ซึ่งผ่านมาแล้วเนิ่นนานตั้งแต่ปี 2541 และจนถึงปัจจุบันนี้ทีมชาติไทยก็ยังไม่เคยเอื้อมถึงเลยแม้แต่ครั้งเดียว

ย้อนเส้นทางบอลไทย โค้ชคนไหนจะพาไปฟีฟ่าเวิลด์คัพ

นับตั้งแต่ช้างศึกไทยก่อตั้งทีมขึ้นมา มีทั้งกุนซือคนไทยและจากต่างประเทศ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาทำหน้าที่ไม่ซ้ำหน้า ซึ่งแต่ละคนยังไม่ถือว่าเข้าตาสมาคมฟุตบอลสักเท่าไหร่ เพราะส่วนใหญ่มักจะเร่งสปีดในช่วงแรกๆ และหลังจากนั้นความไฟแรงก็จะหมดลง ไม่สามารถทำผลงานได้ตามเป้าหมาย 

จึงทำให้วงการบอลไทยยังไม่สามารถคว้าชัย และเข้าร่วมรายการใหญ่อย่างฟุตบอลโลก [2] ได้สักครั้ง และใครกันที่จะสานฝันครั้งนี้ได้สำเร็จ จะเป็นโค้ชคนไทยที่มีประสบการณ์แค่ในประเทศ หรือโชคจะเข้าข้างโค้ชจากทวีปอื่น เรามาเปรียบเทียบผลงานระหว่างโค้ชไทย & โค้ชนอก ไปพร้อมกันได้เลย 

เทียบหมัดต่อหมัด โค้ชไทย & โค้ชนอก เลือกใครดีที่สุด

ผลงานที่โดดเด่นของโค้ชไทย

ย้อนกลับไปเมื่อยุครุ่งเรืองของ ฟุตบอลทีมชาติไทย ในปี 2559 ที่ได้ผู้ฝึกสอนฝีเท้าทองอย่าง “ซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง” มานั่งในตำแหน่งโค้ช และได้พาทีมชาติไทยชุดใหญ่เสมอทีมชาติอิรักไป 2 ต่อ 2 จึงสามารถทะลุเข้าไปเล่นรอบ 3 ของฟุตบอลโลก 2018 ในฐานะแชมป์กลุ่มโซนเอเชียได้สำเร็จ 

จากนั้นไม่นานโค้ชซิโกก็ได้สร้างปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ ด้วยการนำช้างศึกไทยคว้าชัยฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 44 [3] โดยถือว่าเป็นแชมป์ครั้งแรกในรอบเกือบทศวรรษ และในปลายปีเดียวกันยังสร้างประวัติศาสตร์อีกครั้ง ด้วยการคว้าแชมป์ AFF Susuki Cup 2016 ติดต่อกันเป็นรายการที่ 2 

ผลงานที่โดดเด่นของโค้ชนอก

หากอ่านจากผลงานที่เรานำมาให้รู้จักด้านบน จะเห็นว่าโค้ชซิโก้สามารถเข้ากับทีมได้เป็นอย่างดี แต่ใครจะรู้ว่าเก่งแค่ไหนก็พลาดท่าได้เหมือนกัน เพราะถัดมาอีกสองปีหลังจากคว้าแชมป์ใหญ่มาได้ ปรากฏว่าผลงานย่ำแย่มากๆ แข่งไปทั้งหมด 7 นัด เสมอ 1 นอกนั้นแพ้ราบคาบ จึงลาออกจากตำแหน่งในปี 2560  

หลังจากนั้นประมาณหนึ่งเดือนถัดมา มีการแต่งตั้งผู้ฝึกสอนคนใหม่ส่งตรงจากรัสเซีย ซึ่งมีผลงานคล้ายๆ กัน คือคว้าแชมป์ 1 ครั้ง รองแชมป์ 1 ครั้ง ส่วนโค้ชนอกคนต่อมาคืออากิระ นิชิโน ที่มีผลงานไม่มากนัก จึงได้ส่งไม้ต่อให้กุนซือจากบราซิล ซึ่งผลงานก็ยังไม่เป็นที่ประทับใจอีกเหมือนเช่นเคย 

 

 

ทรรศนะบอลของผู้เขียน ต่อการเลือกใช้โค้ชนอกคุมทัพ

ต้องบอกก่อนว่าบอลไทยอยู่ในช่วงเวลาของโค้ชนอกมาแล้วกว่า 7 ปี แต่ทางสมาคมยังยืนหยัดที่จะใช้ผู้ฝึกสอนจากที่อื่น ทำให้ปัจจุบันช่วงปลายปี 2566 ได้มีการแต่งตั้งโค้ชคนใหม่ล่าสุด ที่แฟนบอลน่าจะคุ้นหน้าคุ้นตากันอย่างดี เนื่องจากเป็นเฮดโค้ชฝีมือดีจากบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด [4] ซึ่งสร้างผลงานในลีกมาแล้วนับไม่ถ้วน

แต่ในนามทีมชาติ “มาซาทาดะ อิชิอิ” [5] ถือว่ายังใหม่มาก แต่ผลงานหมาดๆ จากเอเชียนคัพ 2023 นัดแรกยังถือว่าตราตรึงใจ เพราะสามารถนำทัพช้างศึกเอาชนะคีร์กีซสถานไปถึง 2 ประตูต่อ 0 ทำให้ไทยเก็บ 3 แต้มแรกมาได้อย่างสวยงาม และในนัดต่อไปผลงานช้างศึกไทยในการคุมทีมของโค้ชแดนปลาดิบจะเป็นยังไง 

โดยส่วนตัวคิดว่าหากมองตามภาพรวมที่ผ่านมา อิชิอิทำให้เห็นว่านักเตะในบ้านเรามีฝีเท้าไม่ธรรมดา ถึงแม้การคุมทีมบุรีรัมย์จะมีการผสมผสานผู้เล่นจากต่างประเทศมาบ้าง แต่ความเก่ง รวดเร็ว และความอดทน นักเตะไทยเราก็ไม่น้อยหน้าไปกว่าใคร ยกตัวอย่างเช่น พี่อุ้มธีรธร, ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา หรือศุภชัย ใจเด็ด 

ซึ่งทั้ง 3 แข้งที่กล่าวมา เล่นให้กับบุรีรัมย์และทีมชาติมาแล้วหลายปี สำหรับการเลือกใช้โค้ชนอกในครั้งนี้ ทางผู้เขียนที่เป็นแฟนบอลมานานเห็นด้วยอย่างยิ่ง แต่จะอยู่ได้นานหรือไม่นั้น มีสองเหตุผลที่เป็นตัวตัดสิน คือผลงานและการเมืองที่กำลังร้อนระอุ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่าอภิรมย์สำหรับการแข่งขันกีฬาใดก็ตาม 

ทัพช้างศึก 2023 ชี้ชะตาโค้ชใหม่ จะอยู่หรือไป

ถ้าหากคุณเป็นหนึ่งในแฟน ฟุตบอลทีมชาติไทย ที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง จับตามองการแข่งขันฟุตบอลรายการแรกของปีนี้ไว้ให้ดี เพราะจะเป็นตัวชี้ชะตาของโค้ชอิชิอิว่าจะอยู่ต่อหรือจากไป และคุณคิดว่าบอลไทยควรใช้โค้ชจากต่างประเทศหรือไม่? ต้องตั้งตารอต่อไป เพราะเวลาเท่านั้นที่เป็นคำตอบ 

อ้างอิง 

[1] Wikipedia. (January 19, 2024). ฟุตบอลทีมชาติไทย. Retrieved from th.wikipedia

[2] Sanook. (November 07, 2022). ประวัติฟุตบอลโลก. Retrieved from sanook

[3] Thairath. (June 5, 2016). ประมวลภาพ ฟุตบอลคิงส์คัพ ครั้งที่ 44. Retrieved from thairath

[4] Buriramunited. BURIRAM UNITED OFFICIAL. Retrieved from buriramunited

[5] Wikipedia. (January 17, 2024). มาซาตาดะ อิชิอิ. Retrieved from th.wikipedia

 

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Exit mobile version